Lesson 5
เราก็มาดูกันต่อในบทต่อไปนะคะ
บทนี้เราจะว่ากันถึงเรื่องของ
"อึ้ง"
ฟังชื่อแล้วรู้สึกแปลกๆมั้ยล่ะคะ
ตัวอึ้งนี่เป็นตัวสะกดในภาษาญี่ปุ่นนะคะ
ถ้าหากว่าเราเอาตัวอึ้งนี่ไปวางไว้ข้างหลังอักษรตัวใดๆก็ตามจะมีผล
เหมือนการเติม น. หรือว่า ง.
ลงไปข้างหลัง อย่างเช่น ตัวอักษร
อะ เติมอึ้งลงไปก็จะกลายเป็น อัน
หรือ อัง
ถ้าลองเขียนเป็นตัวโรมันก็จะได้อย่างนี้
A กลายเป็น AN นะคะ
ลองดูจากตัวอย่างต่อไปนี้
ก็คงจะสังเกตได้ว่า แค่เอาตัว N
ไปต่อท้ายเท่านั้นเองนะคะ
แต่ในเวลาอ่านจะสามารถอ่านได้สองเสียง
ก็คือ
เสียง น. หรือ ง. ก็ได้
(ถ้าดูตามตัวโรมันจะนึกว่าได้เสียง
น. เพียงเสียงเดียว)
อ้อ...แล้วตัวอึ้งนี่สามารถจะอ่านเป็น
เสียง ม. ก็ได้
แต่จะมีเงื่อนไขอยู่หนึ่งข้อก็คือ
ตัวอักษรที่ตามหลังตัวอึ้งจะต้องมีเสียง
บ. หรือ ป. เท่านั้นนะคะ
เพื่อนๆอาจจะสงสัยว่า
จากบทก่อนหน้านี้ที่เรียนไปยังไม่เห็นมีตัวอักษรที่เป็น
บ. หรือ ป. เลย เพราะว่าเสียงนี้
จะมาจากตัวอักษรในบรรทัดฮิ (HI)
ที่เติมเครื่องหมาย Ten - Ten หรือ
เครื่องหมาย Maru ลงไป เอาเป็นว่า
รู้ไว้แค่นี้ก่อนละกันนะคะ
เอาไว้ในบทต่อไปเราค่อยมาดูเรื่องเครื่องหมายทั้งสองตัวนี้กันอย่างละเอียดเลย
มีเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจอยู่เรื่องนึง
ไม่ทราบว่าเพื่อนๆเคยรู้จักหนังสือเกมที่ชื่อว่า
"ทมโบะ" หรือเปล่า
(ถ้าไม่รู้จักก็ไม่เป็นไรนะคะ)
คือเรื่องมันมีอยู่ว่าหนังสือเล่มนี้เขียนอักษรภาษาอังกฤษว่า
Tonbo แต่ทำไม้ทำไม
ถึงอ่านเป็น "ทมโบะ" ไปซะได้
เรื่องมันก็มาจากเรื่องอึ้งนี่ล่ะค่ะ
ลองเอาคำว่า Tonbo
ที่เราเห็นมาเปลี่ยนเป็น
ตัวอักษรโรมันดูนะคะ ก็จะได้ว่า
TO + N + BO เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นคือแบบนี้ล่ะค่ะ
สังเกตว่าอักษรตัวที่สามคือตัวโบะ
(BO) เป็นเสียง บ. เพราะฉะนั้น
ตัวอึ้งที่อยู่ข้างหน้าก็ต้องอ่านออกเสียง
ม.
กลายมาเป็นหนังสือ "ทมโบะ"
จนได้
เรื่องนี้ก็เป็นประการฉะนี้แลค่ะ
อึ้งมั้ยล่ะคะ . . .
( PS. แถมให้อีกนิดนึง คำว่า "Tonbo" เนี่ย แปลว่า "แมลงปอ" นะคะ พบกันใหม่อาทิตย์หน้าค่ะ แว๊บ . . . )